เจาะลึก Central Utility Plant (CUP) หรือ อาคารสาธารณูปโภคส่วนกลาง
ภาคส่วนต่าง ๆ ในประเทศไทย ทั้งกลุ่มอุตสาหกรรม สถาบันการแพทย์ รวมถึงโครงการอสังหาริมทรัพย์ ล้วนต้องบริหารจัดการสาธารณูปโภคและการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อาคารสาธารณูปโภคส่วนกลาง หรือ Central Utility Plant (CUP) จึงเป็นโซลูชันสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนและเพิ่มขีดศักยภาพการใช้พลังงานของโครงการขนาดใหญ่ดังกล่าว ผ่านการรวมศูนย์การผลิตและให้บริการสาธารณูปโภคไว้ที่แหล่งเดียว Central Utility Plant
แนวคิดและรูปแบบการทำงานของ Central Utility Plant (CUP)
Central Utility Plant (CUP) หรืออาคารสาธารณูปโภคส่วนกลาง เป็นแหล่งผลิต จัดหา และลำเลียงสาธารณูปโภคที่จำเป็น อาทิ การสร้างความอบอุ่น, ความเย็น, ไฟฟ้า, และน้ำ ไปยังสถานที่ขนาดใหญ่โดยรอบ อันได้แก่ นิคมอุตสาหกรรม, ศูนย์การแพทย์, มหาวิทยาลัย, Data Center รวมถึงโครงการแบบ Mixed-use ซึ่งมักมีขนาดตั้งแต่ 50,000 ตารางเมตร
การรวมบริการสาธารณูปโภคไว้ที่จุดเดียวและส่งต่อทรัพยากรจำเป็นไปยังพื้นที่แวดล้อมขนาดใหญ่ที่มีความต้องการสาธารณูปโภคและพลังงานจำนวนมาก ช่วยให้อาคารที่รับบริการได้รับประโยชน์จากการประหยัดต่อขนาด ทั้งยังทำให้เจ้าของโครงการประหยัดต้นทุนพลังงาน และเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของการดำเนินการ
ภายในอาคารสาธารณูปโภคส่วนกลาง (CUP) มีระบบต่าง ๆ ที่ทำงานร่วมกันเพื่อให้บริการสาธารณูปโภคที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างเต็มที่
● ระบบทำความร้อน: ใช้เครื่องมือทำความร้อน เพื่อสร้างและกระจายความร้อนจากอาคารสาธารณูปโภคส่วนกลาง
● ระบบทำความเย็น: ใช้เครื่องทำความเย็นและหอหล่อเย็น เพื่อลดความร้อนในบริเวณโดยรอบ
● ระบบไฟฟ้า: ผลิตไฟฟ้าสำหรับใช้งานในอาคารที่รับบริการ
● ระบบน้ำประปาและน้ำดื่ม: บริหารจัดการน้ำอุปโภคและบริโภค พร้อมบำบัดน้ำเสียและควบคุมประสิทธภาพโดยรวมของน้ำ
● ระบบตรวจสอบและควบคุม: สังเกตการณ์และรักษาระดับของการส่งมอบบริการสาธารณูปโภค ควบคุมสมดุลระหว่างความต้องการและการจัดส่งสาธารณูปโภคและพลังงานต่าง ๆ
สิ่งที่สร้างความโดเด่นให้กับ Central Utility Plant (CUP)
มีข้อดีของอาคารสาธารณูปโภคส่วนกลาง (CUP) หลากหลายประการ ที่ทำให้โซลูชันนี้ เป็นที่นิยมในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น การประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale), ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Efficiency), และการประหยัดต้นทุน (Cost Savings)
อาคารสาธารณูปโภคส่วนกลาง (CUP) ประหยัดต่อขนาด
อาคารสาธารณูปโภคส่วนกลาง (CUP) ผนวกรวมกระบวนการผลิตและจัดจำหน่ายสาธารณูปโภคเข้าไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืน การรวมระบบงานช่วยลดความยุ่งยากของการปฏิบัติการ ลดปริมาณการใช้ทรัพยากร โดยไม่ต้องผลิตและจัดส่งแบบแยกเป็นรายอุปกรณ์ในอาคารแต่ละหลัง จึงเน้นย้ำคุณสมบัติที่โดดเด่นด้านการประหยัดต่อขนาด หรือ Economies of Scale นั่นเอง
การให้บริการอาคารหลายหลังจากจุดเดียว ทำให้อาคารสาธารณูปโภคส่วนกลางสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังช่วยให้มั่นใจได้ถึงการทำงานของอุปกรณ์และระบบภายใต้ความจุที่เหมาะสม ซึ่งสนับสนุนประสิทธิภาพของการดำเนินงานโดยรวมอย่างต่อเนื่อง
อาคารสาธารณูปโภคส่วนกลาง (CUP) ชูประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
อาคารสาธารณูปโภคส่วนกลาง (CUP) ควบคุมระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น ระบบความร้อน ความเย็น และพลังงานไฟฟ้า ไว้ภายใต้อาคารเดียวกัน จึงช่วยลดการสูญเสียพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวม หรือ Energy Efficency
นอกจากนี้ ผู้ออกแบบอาคารสาธารณูปโภคส่วนกลาง ยังสามารถเลือกติดตั้งอุปกรณ์และระบบที่ช่วยประหยัดพลังงาน เช่น การนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ และกลไกการควบคุมอัจฉริยะ เทคโนโลยีเหล่านี้ เป็นตัวช่วยที่มีคุณภาพในการประหยัดพลังงานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน
ลดค่าใช้จ่ายด้วยอาคารสาธารณูปโภคส่วนกลาง (CUP)
อาคารสาธารณูปโภคส่วนกลาง (CUP) ที่ได้รับการศึกษา ออกแบบ และพัฒนาอย่างถี่ถ้วน จะสามารถรองรับเครือข่ายอาคารขนาดใหญ่ได้จำนวนมาก จึงช่วยให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในการจัดซื้ออุปกรณ์สาธารณูปโภคแบบแยกชิ้นส่วนเพื่อติดตั้งตามอาคาร
อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ คือการที่อาคารสาธารณูปโภคส่วนกลาง มีระบบงานที่ซับซ้อน ยากต่อการล้มเหลวของอุปกรณ์ จึงทำให้ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการดำเนินงานโดยรวมลดลง